วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Blog นี้มีไว้เพื่ออะไร ? ทำไมถึงต้องวิศวกรรมโยธา ?

แนะนำตัวกันหน่อยนะครับ  ผู้เขียนกำลังศึกษาอยู่ที่  "ภาควิชาวิศวกรรมโยธา" ชั้นปีที่ 3 รหัส 52


ที่ผมสร้าง Blog นี้ขึ้นมาก็เพื่อที่จะต้องการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทางวิศวกรรมโยธาให้กับรุ่นน้อง และผู้ที่มีความสนใจในด้านวิศวกรรมโยธา ได้รับได้รู้เพื่อที่จะได้มีคนรุ่นใหม่ที่เห็นความสำคัญของงานทางด้านวิศวกรรมโยธาและในขณะเดียวกันประเทศของเรานั้นต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถในการที่จะพัฒนาประเทศ ฉะนั้นหากรุ่นน้องที่สนใจได้อ่านบทความต่าง ๆ เหล่านี้ก็อาจจะเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนทำให้น้อง ๆ อยากเรียนขึ้นมา เพราะการที่เราเรียนแบบที่มีแรงบันดาลในกับเรียนแบบตามเพื่อน หรือเรียนไปแบบไม่รู้จะเรียนอะไรถึงได้ลงคณะนั้น ๆ ก็ตาม มันเป็นการที่เราใช้ศักยภาพของเราไม่เต็มที่

ในฐานะที่ผมเป็นนักเรียนในส่วนของภาควิชาวิศวกรรมโยธา และแน่นอนถ้าหากเรียนจบไปนะครับก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา

หากถามว่าทำไมถึงมาเรียนวิศวกรรมโยธา ?
บอกได้คำเดียวว่าตอนแรกผมไม่ได้ชอบในสายวิศวกรรมศาสตร์เลยก็ว่าได้
ถามว่าแล้วทำไมถึงมาลงคณะวิศวกรรมศาสตร์ล่ะ ? บอกได้เลยว่าไม่มีทางเลือก เพราะส่วนตัวนั้นผมเป็นคนที่ขี้เกียดมาก มากจนถึงขั้นไม่อ่านหนังสือไปสอบ ไม่ว่าจะเป็นสอบกลางภาคก็ดี สอบปลายภาคก็ดี หรือแม้แต่กระทั้ง O-NET , A-NET (ในสมัยนั้น) ผมเลยถามรุ่นพี่ของผมว่ามีคณะไหนเหมาะสำหรับคนที่ขี้เกียดอย่างผม ก็ได้รับคำตอบมาว่า "คณะวิศวกรรมศาสตร์" ผมก็เริ่มสงสัย ผมจึงไปถามรุ่นพี่ของผมอีกคนนึงที่เรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์อยู่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เค้าก็ให้คำตอบผมว่าจริง เพราะว่าในการเรียนคณะนี้ไม่ว่าจะเป็นภาควิชาใดก็ตามล้วนแล้วแต่วิชาส่วนใหญ่ใช้ความเข้าใจทั้งสิ้นในการทำโจทย์ แต่ก็ต้องมีความรู้ในทฤษฎีบ้างแต่โดยรวมแล้วนับว่าเหมาะมากสำหรับคนที่เกียดเพราะใช้ความเข้าใจซะส่วนใหญ่ ผมจึงเลือกวิศวกรรมโยธา เพราะว่าเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจที่สุดในบรรดาวิศวกรรมทั้งหมด (ในความคิดส่วนตัวของผม)

แล้วอะไรคือสิ่งที่หน้าสนใจของวิศวกรรมโยธาล่ะ ?
งานในด้านวิศวกรรมโยธาเป็นงานที่เราต้องมีความละเอียดรอบคอบ และวิศวกรรมโยธาถูกสอนมาไม่ให้พลาด เพราะถ้าคุณพลาดนั้นหมายความถึงชีวิตของคนอีกมากมายที่ต้องสูญเสียไปเพราะการกระทำของคุณเอง ความประมาทและสะเพร่าของคุณอาจเป็นตราบาปของคุณไปตลอดชีวิตก็เป็นได้ เพราะวิศวกรรมโยธาเกี่ยวข้องกับ "สถานที่ทุกสถานที่ก็ว่าได้ถือว่าเป็นงานทางด้านวิศวกรรมโยธา" ความน่าสนใจมันอยู่ที่คุณเป็นคนออกแบบและควบคุมคุณภาพของสถานที่ต่าง ๆ เหล่านั้น มันถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ในสายตาของผม

วิศวกรรมโยธาแยกย่อยตามความเชี่ยวชาญได้อีก คือ
- วิศวกรรมโครงสร้าง 
คำว่าโครงสร้าง คุณก็รู้นะครับว่าคือ ส่วนประกอบหลักที่สำคัญและนำมาประกอบกันเป็นรูปร่าง วิศวกรรมโครงสร้างก็ต้องควบคุมในส่วนของโครงสร้าง คำนวณ รวมไปถึงขั้นการออกแบบ เช่น การออกแบบโครงสร้างสะพาน การออกแบบโครงสร้างตึก เป็นต้น
- วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ
ในด้านนี้จำเป็นต้องมีการวางแผนในการก่อสร้าง และการวางระบบ และที่สำคัญในส่วนของงบประมาณ โดยวิศวกรรมที่เชี่ยวชาญด้านนี้ต้องออกแบบในส่วนนี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะเนื่องจากเป็นคนที่คอยควบคุมระบบต่าง ๆ
- วิศวกรรมขนส่ง
โดยวิศวกรด้านขนส่ง จำเป็นต้องออกแบบทางด้านการจราจร ระบบขนส่ง รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ในงานถนนหลักๆ คือ คอนกรีตและยางมะตอย
- วิศวกรรมปฐพี
โดยในด้านนี้จะศึกษาเกี่ยวกับดิน ลักษณะของดินในแบบต่างๆ รวมไปถึงฐานรากของตึกและอาคาร และการออกแบบ
- วิศวกรรมสำรวจ
โดยในด้านนี้จะศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีการที่เราจะใช้ในการสำรวจทำแผนที่ การใช้เครื่องมือ GPS กล้องสำรวจ เป็นต้น

โดยหลัก ๆ ก็จะมีเท่านี้ แต่ก็จะมีแยกย่อยที่ไม่ได้กล่าว คือ วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเทคนิคธรณี
ในวิศวกรรมแต่ละส่วนของวิศวกรรมโยธาก็จะทำงานที่เกี่ยวข้องและคอยประสานงานกัน และต้องทำงานร่วมกับวิศวกรรมสายอื่นอีกด้วย

"ใน Blog ต่อจากนี้อาจจะมีการใช้ศัพท์ทางวิศวกรรมโยธาแทรกด้วยนะครับ แต่จะใช้เป็นภาษาพูดที่เข้าใจง่ายนะครับเพื่อที่จะให้ผู้ที่ต้องการหาความรู้หรือรุ่นน้องที่ต้องการทราบเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือความรู้ที่มีประโยชน์จะได้เข้าใจง่าย ๆ ครับ"


SanKy ' Blog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น